วันพุธที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ลักษณะสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ

2.  ลักษณะสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ


        กลุ่มสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่รวมกันในระบบนิเวศนอกจากจะมีความสัมพันธ์ระหว่างกันแล้ว  ยังมีความสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ดังนี้
     1.  แสง   เป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างอาหารของพืชที่มีคลอโรฟิลล์ ทำให้พืชเจริญเติบโต นอกจากนี้แสงยังมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของสัตว์ เช่น สัตว์บางชนิดออกหากินตอนกลางวัน   สัตว์บางชนิดออกหากินตอนกลางคืน
        2.   น้ำ   เป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตต่างๆ และเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหารของสัตว์น้ำและพืช




      3. ดินนและแร่ธาตุ เป็นปัจจัยสำคัญในการเจริญเติบโตของพืช เพราะเป็นแหล่งของธาตุอาหารของที่สำคัญในกเจริญเติบโตของพืช และเป็นที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหารของสัตว์บางชนิด



    4. อุณหภูมิ เป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต บริเวณที่อุณหภูมิเหมาะสมจะมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่มาก อุณหภูมิมีอิทธิพลต่อลักษณะรูปร่างของสิ่งมีชีวิตเช่น สุนัขที่อยู่ในเขตร้อนจะเป็นพันธ์ขนเกรียน สุนัขที่อยู่ในเขตหนาวจะเป็นพันธุ์ยาวนาน เป็นต้น

การทดลองการทำสวนขวด
               
             การทำสวนขวด  จะพบว่าพืชในสวนขวดสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ โดยอาศัยสารต่างๆ ที่หมุนเวียนอยู่ในขวด  เช่น น้ำ ธาตุอาหาร  และอาศัยพลังงานแสงเพื่อใช่ในการสร้างอาหารด้วยกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง
        การจัดสวนขวดเป็นการเลียนแบบการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตบนโลก ดังนี้

                                                       

ดังนั่นจึงสรุปได้ว่า สิ่งมีชีวิตมีความสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อม โดยพึ่งพาอาศัย

สิ่งแวดล้อมเพื่อการดำรงชีวิต


2.  โซ่อาหาร


               ในกลุ่มสิ่งมีชีวิตแต่ละแหล่งที่อยู่  สิ่งมีชีวิตจะมีความสัมพันธ์กับสิ่งมีชีวิตในเรื่องขงการกินต่อกันเป็นทอดๆ  เรียกว่า โซ่อาหาร  จากผู้ผลิตสู่ผู้บริโภคทำให้มีการถ่ายทอดพลังงานในอาหารต่อเนื่องเป็นลำดับ
            ลองสังเกตภาพผู้ผลิตและผู้บริโภคต่อไปนี้แล้วช่วยกันแสดงความคิดเห็นว่า มีการกินกันเป็นทอดๆ อย่างไร         เริ่มจาก ต้นข้าวโพดสามารถสร้างอาหารได้โดยกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ตั๊กแตนกินใบของข้าวโพดเป็นอาหาร อีกทอดหนึ่ง และคางคกกินตั๊กแตนเป็นอาหาร      การกินต่อกันเป็นทอดๆ  ระหว่างต้นข้าวโพด ตั๊กแตน  และคางคก  เรียกว่า  โซ่อาหาร  ซึ่งเขียนแสดงได้ดังนี้

      เริ่มจาก ต้นข้าวโพดสามารถสร้างอาหารได้โดยกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ตั๊กแตนกินใบของข้าวโพดเป็นอาหารอีกทอดหนึ่ง และคางคกกินตั๊กแตนเป็นอาหาร  การกินต่อกันเป็นทอดๆ  ระหว่างต้นข้าวโพด ตั๊กแตน  และคางคก  เรียกว่า  โซ่อาหาร  ซึ่งเขียนแสดงได้ ดังนี้

พืชสีเขียวจัดเป็น  ผู้ผลิต  เพราะสามารถสร้างอาหารเองได้ด้วกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง   แล้วสะสมน้ำตาลและแป้งไว้ตามส่วนต่าง        จากนั้น  ผู้บริโภคพืช  หรือสัตว์กินพืช  เช่น ช้าง ม้า วัว ควาย จะกินพืชเป็นอาหารอีกทอดหนึ่ง

     ในขณะเดียวกันสัตว์กินพืชจะถูก  ผู้บริโภคสัตว์  หรือสัตว์ที่กินสัตว์อื่นเป็นอาหารอีกทอดหนึ่ง

     ส่วนผู้บริโภคพืชและสัตว์  เป็นสัตว์บางชนิดที่กินทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหารเช่น  คน สุนัข แมว เป็ด ไก่


       การเขียนโซ่อาหาร  ให้เขียนโดยเริ่มจากผู้ผลิตอยู่ข้างหน้า และผู้บริโภคอยู่ข้างหลัง  ต่อกันไปเรื่อย ๆ  และเขียนลูกศรแทนการถ่ายทอดพลังงานจากสิ่งมีชีวิตหนึ่งไปยังสิ่งมีชีวิตหนึ่ง ดังนี้ 
นธรรมชาติการกินต่อกันเป็นทอดๆ  ในโซ่อาหาร  อาจมีความซับซ้อนกันมากขึ้น คือมีการกินอย่างไม่เป็นระเบียบ  หรือประกอบด้วยโซ่อาหารหลายๆ  ห่วงร่วมกัน  เรียกว่า  สายใยอาหาร



แผนภาพสายใยอาหารบริเวณทุ่งหญ้า